อาการตาล้าจากสื่อดิจิทัลคือกาฬโลกแห่งศตวรรษที่ 21 งั้นหรือ

ในคลังศัพท์ปัจจุบันของเราซึ่งใช้คำคุณศัพท์ที่เป็นที่สุดมากเกินไป เช่น “สุดยิ่งใหญ่” หรือการเติม “-magedon (สื่อถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายอย่างยิ่ง)” ให้กับเหตุการณ์ เช่น หิมะสูง 3 นิ้ว ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริงและอะไรคือสิ่งที่กล่าวเกินจริง ผมไม่ได้ “พูดเกินจริง” เมื่อบอกว่าอาการเมื่อยล้าสายตาจากการจ้องอุปกรณ์ดิจิทัลนั้นลุกลามอย่างรวดเร็วและกำลังแพร่หลายในสังคมดิจิทัลยุคใหม่ของเรา

 

อย่างแรก ขอยอมรับว่าผมใช้คำนิยามไม่ถูกต้องนัก แต่ก็ไม่มีคำไหนที่ดีกว่านี้ให้เลือกใช้แล้ว การเสพติดโทรศัพท์ แท็บเล็ต เกม และหน้าจอไม่ใช่โรค แม้ว่าอิทธิพลที่มีต่อสังคมจะมีลักษณะเหมือนโรคติดต่อก็ตาม iPhone เพิ่งฉลองวันเกิดครบรอบ 10 ปี และการเสพติดการใช้งานอุปกรณ์นี้ได้แพร่กระจายไปตามกาลเวลา อย่างไรก็ตาม ในฐานะส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา นั่นถือเป็นเวลาที่ค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับที่วิทยุ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้คนก่อนการมีอยู่ของ iPhone

 

 

 

อาการเมื่อยล้าสายตาจากการจ้องอุปกรณ์ดิจิทัลจะไม่พรากชีวิตใครอีก แล้วทำไมต้องดูแลล่ะ

 

ในสำนักงานของผม ข้อร้องเรียนที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับอาการเมื่อยล้าสายตาจากการจ้องอุปกรณ์ดิจิทัลคือการมองเห็นไม่คงที่ ทำไมอาการนี้ถึงเกิดขึ้น กล้ามเนื้อตาที่ใช้เพ่งมองต้องปรับโฟกัสในระยะใกล้ขณะจ้องหน้าจอที่อยู่ห่างออกไป 12 ถึง 24 นิ้ว การเพ่งมองหน้าจอเป็นเรื่องยากโดยแท้จริงเนื่องจากลักษณะของแสงสีฟ้าที่ปล่อยออกมา ในขณะที่ดวงตากำลังค้นหาเป้าหมาย (หน้าจอที่มีแสงส่องด้านหลัง) เพื่อล็อคเป้า ดวงตาก็ยิ่งมองเห็นได้ลำบากมากขึ้นไปอีก การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ที่มากเกินไปนี้ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถผ่อนคลายได้ และอาการนี้จะรุนแรงขึ้นจากการก่อตัวของการตอบสนองของความจำของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาทำงานใน “สถานะใกล้” อย่างต่อเนื่อง

 

 

"ทริกการยกแขนค้างไว้" สามารถใช้เพื่อเลียนแบบความจำของกล้ามเนื้อชั่วคราวได้ ซึ่งทำได้โดยการยืนตรงประตูบานแคบ ๆ (อย่างตู้เก็บอาหาร) แล้วกดหลังข้อมือของคุณกับกรอบประตูให้แรงที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นเวลาหนึ่งนาที จากนั้นก้าวออกจากประตูโดยปล่อยให้แขนของคุณแนบข้างลำตัว แต่จะไม่เป็นเช่นนั้นหรอก! เพราะแขนทั้งสองจะ “ยก” ขึ้นจากร่างกายของคุณ โดยพื้นฐานแล้ว ดวงตาของคุณกำลัง “ผลักออก” จากหน้าจอชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่า เมื่อคุณขยับศีรษะออกจากหน้าจอ ดวงตาของคุณจะคิดว่ายังคงอยู่ที่ด้านหน้าของหน้าจอ ซึ่งส่งผลให้การมองเห็นไม่คงที่เนื่องจากการล็อคโฟกัสของสายตา

 

 

ลูกค้าทุกรายของเราจะทนต่อความทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็นเนื่องจากอาการเมื่อยล้าสายตาที่เลวร้ายจากการจ้องอุปกรณ์ดิจิทัลได้หรือไม่ เฉพาะในกรณีที่เราปล่อยให้พวกเขาต้องเป็นเช่นนั้นเท่านั้น!

อยากเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่

นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเพิ่มขึ้น รับทราบข้อมูลและรับความช่วยเหลือจาก HOYA ตลอดทุกขั้นตอน